6.เขื่อนอุบลรัตน์
เขื่อนอุบลรัตน์
มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตร การประมง การป้องกันอุทกภัย การคมนาคม ตลอดไปจนถึงเป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ภายในบริเวณมีร้านอาหารเรือนพานคำ บ้านพัก สนามกอล์ฟ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เดินชมสวนพรรณไม้ในวรรณคดี สวนประติมากรรมไดโนเสาร์ วังมัจฉาและร้านอาหารตามสั่งภายในบริเวณเขื่อน เปิดทุกวัน เวลา 07.00-20.00 น. อีกด้วย นอกจากนี้ ที่ปลายสุดสันเขื่อนยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิริสัตตราช หรือ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
เขื่อนอุบลรัตน์ ตรงนี้เป็นป้ายชื่อเขื่อนที่มีนักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกจำนวนมาก จากจุดนี้ไปสามารถเลือกเดินชมสันเขื่อนหรือว่าจะข้ามสะพานไปร้านอาหารเรือนพานคำ และวังมัจฉาเขื่อนอุบลรัตน์เพื่อซื้ออาหารปลาไปเลี้ยงปลา สำหรับระยะทางในการเดินชมเขื่อนแดดจะร้อนไปหน่อยถ้ามาในช่วงกลางวัน หลายคนเลือกที่จะมาชมเขื่อนในช่วงพระอาทิตย์ตกเนื่องจากมีทิวทัศน์ที่สวยงาม
ห้ามปาหิน เป็นป้ายที่จะพบเห็นได้เป็นระยะๆ ในระหว่างการเดินชมสันเขื่อน เป็นป้ายอันบอกว่าห้ามปาหินลงน้ำเนื่องจากเป็นบริเวณประตูน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำอันอาจจะเกิดความเสียหายจากการปาก้อนหินลงบริเวณนี้
จุดชมไดโนเสาร์ ป้ายอันชวนฉงนที่ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนงงไปตามๆ กัน เมื่อมีป้ายระบุว่าจุดนี้เป็นจุดชมไดโนเสาร์ แต่ไม่ว่าจะทองไปทางไหนอยู่นานสองนาน ก็หาไดโนเสาร์ไม่เจอ
เขื่อนอุบลรัตน์ ทิวทัศน์บนสันเขื่อนอุบลรัตน์
วังมัจฉา เป็นแพเล็กๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวซื้ออาหารไปเลี้ยงปลาได้ การเดินลงไปที่แพจะต้องข้ามสะพานมาจากสันเขื่อนอุบลรัตน์มาที่ร้านอาหารเรือนพานคำ แล้วจะมีบันไดลงไป
เรือนพานคำ ร้านอาหารพร้อมระเบียงชมวิวบริวเณเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นร้านที่จะมีนักท่องเที่ยวอยู่เต็มไปหมดในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาที่เขื่อนอุบลรัตน์มากเป็นพิเศษคือวันสงกรานต์
เขื่อนอุบลรัตน์ จากบริเวณร้านเรือนพานคำจะมองเห็นตัวเขื่อนอุบลรัตน์ได้สวยงาม
กุฎิหลวงตามหาบัว ขับจากสันเขื่อนลงมาตามเส้นทางจะมีทางแยกซ้ายมือเลียบลำน้ำพองไปเรื่อยๆ จะมีทางแยกอีกก็เลี้ยวซ้ายอีกจะเห็นสะพานข้ามลำน้ำพองนี้ก็ข้ามไปเรื่อยตามทางจะมีป้ายบอกทางไปศาลาพระพุทธสิริสัตตราช โดยผ่านโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อเห็นโรงงานแล้วก็จะมีทางเลี้ยวไปทางขวาจากนั้นเป็นทางขึ้นเขาที่ลาดชัน และคดเคี้ยว อีกไม่นานก็ถึง เป็นกุฎิที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเคยมาพำนักปฏิบัติธรรม ที่ลานเล็กๆ หน้ากุฎิมีป้ายเขียนบอกว่าเส้นทางจงกรมของหลวงตาที่ตรงนี้มีลานกว้างไม่มากนักจอดรถได้น้อย 3-4 คัน เท่านั้น และจากตรงนี้ก็เห็นศาลาที่ประดิษฐานพระพุทธสิริสัตตราช ซึ่งอยู่สูงกว่ากุฎิหลังนี้เพียงไม่กี่เมตร
ศาลาพระพุทธสิริสัตตราช เป็นศาลาทรงหลังคาสูงโปร่ง ในช่วงกลางวันหรือบ่ายต้นๆ ฤดูหนาวแดดส่องเข้าไปภายในได้เกือบถึงองค์พระ สามารถมองเห็นแนวสันเขื่อนยาวโดยตลอดเพียงแต่มีต้นไม้สูงบังทัศนียภาพจึงไม่ได้ถ่ายรูปมา
พระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ประวัติความเป็นมา (โดยสังเขป) พระพุทธสิริสัตตราชหรือหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่ประดิษฐาน ณ ที่แห่งนี้ เป็นพระพุทธรูปจำลองจากพระพุทธรูปองค์จริงประจำพระเดชพระคุณพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) แห่งวัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ซึ่งได้มาโดยนิมิตภาวนา มีพุทธลักษณะเป็นปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 39 นิ้ว ประทับนั่งบนพญางูใหญ่ที่ขนดตัวเป็นบัลลังก์แผ่พังพานเหนือเศียรพระ มี 7 หัว เป็นสัญลักษณ์แห่งฝนและความร่มเย็น
ดำริการสร้างพระพุทธรูปเกิดจากการที่ในปี 2542 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเกิดภัยแล้งในภูมิภาคอิสานติดต่อกันมาหลายปี น้ำตามเขื่อนต่างๆ มีน้อย ประชาชนต่างก็ได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วไป โดยความเห็นชอบของนายวีระวัฒน์ ชลายน อดีต ผวก. กฟผ. พร้อมด้วยพลังศรัทธาอันแรงกล้าของผูปฏิบัติงาน กฟผ. ได้พร้อมใจกันขออนุญาตจาก หลวงปู่สอ พันธุโล ขอจัดสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลองขึ้น ณ เขื่อนแห่งนี้ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนตกต้องตามฤดูกาล มีน้ำเต็มเขื่อนจะได้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นที่ลุ่มน้ำ ตลอดไป
วันที่ 29 มิถุนายน 2543 พิธีเททองหล่อ ณ มณฑลสำนักงานกลาง กฟผ. อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
วันที่ 12-13 สิงหาคม 2543 ประกอบพิธีพุทธาภิเษกและอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ ที่ฝั่งซ้ายเขื่อนอุบลรัตน์แห่งนี้ พระพุทธานุภาพและพระพุทธบารมี หลังจากประดิษฐานแล้วบังเกิดทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีน้ำเต็มเขื่อนทุกปีจริง ผู้ใดมากราบไหว้บูชามักจะประสบโชคลาภและความปลอดภัย
ดำริการสร้างพระพุทธรูปเกิดจากการที่ในปี 2542 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเกิดภัยแล้งในภูมิภาคอิสานติดต่อกันมาหลายปี น้ำตามเขื่อนต่างๆ มีน้อย ประชาชนต่างก็ได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วไป โดยความเห็นชอบของนายวีระวัฒน์ ชลายน อดีต ผวก. กฟผ. พร้อมด้วยพลังศรัทธาอันแรงกล้าของผูปฏิบัติงาน กฟผ. ได้พร้อมใจกันขออนุญาตจาก หลวงปู่สอ พันธุโล ขอจัดสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลองขึ้น ณ เขื่อนแห่งนี้ เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนตกต้องตามฤดูกาล มีน้ำเต็มเขื่อนจะได้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่พื้นที่ลุ่มน้ำ ตลอดไป
วันที่ 29 มิถุนายน 2543 พิธีเททองหล่อ ณ มณฑลสำนักงานกลาง กฟผ. อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
วันที่ 12-13 สิงหาคม 2543 ประกอบพิธีพุทธาภิเษกและอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ ที่ฝั่งซ้ายเขื่อนอุบลรัตน์แห่งนี้ พระพุทธานุภาพและพระพุทธบารมี หลังจากประดิษฐานแล้วบังเกิดทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีน้ำเต็มเขื่อนทุกปีจริง ผู้ใดมากราบไหว้บูชามักจะประสบโชคลาภและความปลอดภัย
ชมวิวเขื่อนอุบลรัตน์ วิหารพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) อีกด้านหนึ่งของสันเขื่อน เราจะสามารถมองเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนยอดเขา ของวัดพระพุทธบาทภูพานคำ วัดพระพุทธบาทภูพานคำ ชมข้อมูลของวัดคลิกที่นี่
โรงงานไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อเดินทางกลับลงมาจากสักการะพระพุทธสิริสัตตราช ก็จะผ่านโรงงานไฟฟ้า ซึ่งมองเห็นแนวสันเขื่อนเป็นฉากยาวๆ อยู่ด้านหลัง
เฮือนอิสาน มีเรือนนอนหรือห้องนอน 2 ห้อง ที่เหลือก็ค่อนข้างจะเป็นที่โล่งๆ มีนอกชานและระเบียงยื่นออกมา
บนเฮือนอิสานก็จะมีครัวแบบอิสานแท้ๆ ให้ได้ชมเหมือนพิพิธภัณฑ์ ในครัวก็จะประกอบไปด้วย
1. กระต่ายขูดมะพร้าว กระด้ง
2. โป๊ะตะเกียง ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ เห็นวางพิงผนังไว้กับบั้งทิง ส่วนรูปของบั้งทิงเนื่องจากรูปร่างค่อนข้างธรรมดามีรูอยู่กลางกระบอกเลยไม่ได้ถ่ายมาโดยละเอียด
3. บั้งทิง เป็นชื่อของภาชนะบรรจุน้ำดื่มของชาวบ้านในชนบท ที่ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ จัดว่าเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการยังชีพมาก เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ การที่ชาวบ้านต้องทำบั้งทิงไว้บรรจุน้ำนั้น เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีแหล่งน้ำมากเหมือนในปัจจุบัน การจะไปทำไร่ทำนาหรือเดินทางไกลจะต้องเตรียมน้ำดื่มไปด้วย ภาชนะบรรจุน้ำก็ไม่มีจำหน่ายเหมือนในปัจจุบันชาวบ้านจึงเลือกหาวัสดุที่มีในท้องถิ่น โดยใช้ภูมิปัญญาคิดหารูปแบบและวิธีการจัดทำได้อย่างเหมาะสม และมีผลทางประโยชน์ใช้สอยมากอย่างน่าทึ่ง ทั้ง ๆ ที่การทำบั้งทิงนั้นก็ไม่มีขึ้นตอนซับซ้อนอะไรมากมายนัก แต่ก็น่าสนใจในระบบและวิธีการทำบั้งทิงของชาวบ้าน ซึ่งปัจจุบันนับวันจะเลือนหายไปจากความทรงจำและคงจะไม่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน
อุปกรณ์ในการทำบั้งทิง ไม้ไผ่บ้าน หรือ ไม้ไผ่สีสุก มีด พร้า เหล็กแหลม ซึ่งชาวบ้านเรียก เหล็กซี (ซี แปลว่าเจาะ) ขนาดต่างๆ เชือกป่าน หรือเชือกปอ
ขั้นตอนการทำบั้งทิง คัดเลือกไม้ไผ่บ้านหรือไผ่สีสุกลำที่พอเหมาะกับการใช้งาน เช่น ใช้บรรจุน้ำสำหรับบริการคนจำนวนน้อยก็ใช้ลำเล็ก การคัดเลือกไม้ไผ่นั้น จะต้องดูให้ละเอียดว่าเป็นปล้องที่บริสุทธิ์ปราศจากมดหรือแมลงเจาะซอนไซ อีกทั้งปลอดจากเชื้อราไม้ไผ่ และควรหาไม้ไผ่ลำที่มีปล้องยาวด้วย
ตัดไม้ไผ่ลำที่คัดเลือกไว้แล้ว โดยตัดให้เหลือข้อไม้ไผ่ไว้ทั้ง 2 ข้าง ปลายกระบอกข้างหนึ่งให้ตัดเผื่อ ทำปากหรือพวกสำหรับเทน้ำด้วย
ใช้พร้าตกแต่งปอกเปลือกไม้ไผ่ (ติวไม้) ออกให้บางลง ขึ้นตอนนี้มีจุดประสงค์ให้เบาเมื่อบรรจุน้ำ อีกทั้งส่วนเปลือกไม้ไผ่นั้น มักเป็นเสี้ยนหรือมีคมจะไม่ปลอดภัย เวลาใช้งาน
เจาะรูทีข้อด้านปากกระบอกบั้งทิง ให้เป็นรูที่จะกรอกน้ำได้ อย่าให้กว้างมากเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกมากเมื่อเหิดหลุดหรือล้ม แต่ก็ต้องทำจุกปิดไว้ด้วยไม้นุ่น ตกแต่งปากพวย เพื่อเป็นส่วนเทน้ำออก ไม่ให้น้ำกระจาย
นำบั้งทิงที่ตกแต่งแล้วไปลนไฟกันมอด หรือใช้ไฟตกแต่งเป็นลายให้สวยงามก็ได้
ใช้เชือกมัดส่วยคอบั้งทิง ส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่งให้มัดส่วนล่างของบั้งทิงทำเป็นสายสพายหรือให้ห้อยไว้ได้
ให้กรณีที่ต้องการทำบั้งทิงให้มีความยาว 2-3 ปล้องไม้ไผ่เพื่อให้บรรจุน้ำได้มากๆ พอเพียงกับการผู้คนจำนวนมาก เช่น งานลงแขกทำนา หรือเดินทางไกล ต้องใช้น้ำมกก็ทำวิธีเดียวกับบั้งทิงปล้องเดียว จะแตกต่างเฉพาะการเจาะข้อภายในลำไม้ไผ่เท่านั้น ซึ่งการเจาะนั้น จะใช้เหล็กปลายแหลม เหล็กซี ซึ่งยาวถึงข้อไม้ไผ่ที่ต้องการ เจาะรู โดยวิธีเผาไฟให้แดงแล้วแทงลงไปในรูบั้งทิง เจาะข้อภายในให้เป็นรูหลายรู เมื่อกรอกน้ำจะทำให้น้ำไหลลงไปสู่ปล้องต่ำสุดได้
1. กระต่ายขูดมะพร้าว กระด้ง
2. โป๊ะตะเกียง ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ เห็นวางพิงผนังไว้กับบั้งทิง ส่วนรูปของบั้งทิงเนื่องจากรูปร่างค่อนข้างธรรมดามีรูอยู่กลางกระบอกเลยไม่ได้ถ่ายมาโดยละเอียด
3. บั้งทิง เป็นชื่อของภาชนะบรรจุน้ำดื่มของชาวบ้านในชนบท ที่ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ จัดว่าเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการยังชีพมาก เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ การที่ชาวบ้านต้องทำบั้งทิงไว้บรรจุน้ำนั้น เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีแหล่งน้ำมากเหมือนในปัจจุบัน การจะไปทำไร่ทำนาหรือเดินทางไกลจะต้องเตรียมน้ำดื่มไปด้วย ภาชนะบรรจุน้ำก็ไม่มีจำหน่ายเหมือนในปัจจุบันชาวบ้านจึงเลือกหาวัสดุที่มีในท้องถิ่น โดยใช้ภูมิปัญญาคิดหารูปแบบและวิธีการจัดทำได้อย่างเหมาะสม และมีผลทางประโยชน์ใช้สอยมากอย่างน่าทึ่ง ทั้ง ๆ ที่การทำบั้งทิงนั้นก็ไม่มีขึ้นตอนซับซ้อนอะไรมากมายนัก แต่ก็น่าสนใจในระบบและวิธีการทำบั้งทิงของชาวบ้าน ซึ่งปัจจุบันนับวันจะเลือนหายไปจากความทรงจำและคงจะไม่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน
อุปกรณ์ในการทำบั้งทิง ไม้ไผ่บ้าน หรือ ไม้ไผ่สีสุก มีด พร้า เหล็กแหลม ซึ่งชาวบ้านเรียก เหล็กซี (ซี แปลว่าเจาะ) ขนาดต่างๆ เชือกป่าน หรือเชือกปอ
ขั้นตอนการทำบั้งทิง คัดเลือกไม้ไผ่บ้านหรือไผ่สีสุกลำที่พอเหมาะกับการใช้งาน เช่น ใช้บรรจุน้ำสำหรับบริการคนจำนวนน้อยก็ใช้ลำเล็ก การคัดเลือกไม้ไผ่นั้น จะต้องดูให้ละเอียดว่าเป็นปล้องที่บริสุทธิ์ปราศจากมดหรือแมลงเจาะซอนไซ อีกทั้งปลอดจากเชื้อราไม้ไผ่ และควรหาไม้ไผ่ลำที่มีปล้องยาวด้วย
ตัดไม้ไผ่ลำที่คัดเลือกไว้แล้ว โดยตัดให้เหลือข้อไม้ไผ่ไว้ทั้ง 2 ข้าง ปลายกระบอกข้างหนึ่งให้ตัดเผื่อ ทำปากหรือพวกสำหรับเทน้ำด้วย
ใช้พร้าตกแต่งปอกเปลือกไม้ไผ่ (ติวไม้) ออกให้บางลง ขึ้นตอนนี้มีจุดประสงค์ให้เบาเมื่อบรรจุน้ำ อีกทั้งส่วนเปลือกไม้ไผ่นั้น มักเป็นเสี้ยนหรือมีคมจะไม่ปลอดภัย เวลาใช้งาน
เจาะรูทีข้อด้านปากกระบอกบั้งทิง ให้เป็นรูที่จะกรอกน้ำได้ อย่าให้กว้างมากเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกมากเมื่อเหิดหลุดหรือล้ม แต่ก็ต้องทำจุกปิดไว้ด้วยไม้นุ่น ตกแต่งปากพวย เพื่อเป็นส่วนเทน้ำออก ไม่ให้น้ำกระจาย
นำบั้งทิงที่ตกแต่งแล้วไปลนไฟกันมอด หรือใช้ไฟตกแต่งเป็นลายให้สวยงามก็ได้
ใช้เชือกมัดส่วยคอบั้งทิง ส่วนปลายเชือกอีกด้านหนึ่งให้มัดส่วนล่างของบั้งทิงทำเป็นสายสพายหรือให้ห้อยไว้ได้
ให้กรณีที่ต้องการทำบั้งทิงให้มีความยาว 2-3 ปล้องไม้ไผ่เพื่อให้บรรจุน้ำได้มากๆ พอเพียงกับการผู้คนจำนวนมาก เช่น งานลงแขกทำนา หรือเดินทางไกล ต้องใช้น้ำมกก็ทำวิธีเดียวกับบั้งทิงปล้องเดียว จะแตกต่างเฉพาะการเจาะข้อภายในลำไม้ไผ่เท่านั้น ซึ่งการเจาะนั้น จะใช้เหล็กปลายแหลม เหล็กซี ซึ่งยาวถึงข้อไม้ไผ่ที่ต้องการ เจาะรู โดยวิธีเผาไฟให้แดงแล้วแทงลงไปในรูบั้งทิง เจาะข้อภายในให้เป็นรูหลายรู เมื่อกรอกน้ำจะทำให้น้ำไหลลงไปสู่ปล้องต่ำสุดได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น